มล. ปุญยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา จัดงาน “เพลินพัสตรา ภูษาแห่งสยาม” ประกวดภาพถ่าย “ภาพเก่า เล่าเรื่องภูษาไทย”

มล. ปุญยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา จัดงาน “เพลินพัสตรา ภูษาแห่งสยาม” ประกวดภาพถ่าย “ภาพเก่า เล่าเรื่องภูษาไทย”

มล. ปุญยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา ประธานชมรมเพลินไทยสมัยนิยม และคณะกรรมการจัดงาน จัดงาน เพลินพัสตรา ภูษาแห่งสยาม “ภาพเก่า เล่าเรื่องภูษาไทย” โดยมี ดร. จรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธาน ในพิธีมอบถ้วยรางวัลเกียรติยศ การประกวดภาพถ่าย ณ โรงแรม แมนดารินโอเรียนเต็ล โดยมีเหล่าบรรดาเซเลบชื่อดังให้เกียรติร่วมงานเป็นจำนวนมาก และผู้ที่ได้ รางวัลการแต่งกายภาคใต้ ได้แก่ “คุณศศวิมล ดารารัตนโรจน์”  

โดยในครั้งนี้ เครื่องประดับทองแท้โบราณ และผ้าไทยอายุ 100 กว่าปี  ซึ่งมีมูลค่าหลายล้านบาท ของคุณแก้มแหม่ม ได้นำมาจาก บ้านชินประชา  เป็นบ้านเก่า อายุกว่า 100 ปี ที่มีสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ เปิดให้คนเข้าชม ซึ่งจะดังมากในเรื่องอนุรักษ์ผ้าไทย

คุณแหม่ม ศศิวิมล กล่าวว่า “ชุดเจ้าสาวอายุกว่า 100 ปีหรือเรียกว่า ครุยยาว..เรียก บาจูปันจัง.ในภาษามลายู นิยมแต่งตามประเพณีของชาติพันธุ์ บาบ๋า เริ่มต้นในปี พ.ศ.2369 ในช่วงสยามประเทศลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นี่ กับ อังกฤษ เจ้าสาวบาบ๋า เป็นวัฒนธรรมร่วมของจังหวัดฝั่งทะเลอันดามันคือ .กระบี่.พังงาภูเก็ต.ระนอง.สตูล.ตรัง และตะกั่วป่า..การแต่งกายบ่งบอกถึงฐานะที่มั่งคั่งร่ำรวยของนายเหมือง….

ขอกราบขอบพระคุณคุณแม่แดง จรูญรัตน์ ตัณฑวนิชแห่งบ้านชินประชา(ภูเก็ต)คุณสุภางพรรณ ขอสันติวิชัย(พี่กุ้ง)..อาจารย์จรินทร์ นีรนาทวโรดม .คุณกาญจนา รักมิตร(น้องนา) ที่ได้เตรียมชุดผ้าโบราณ และเครื่องทองแท้ เพชรแท้โบราณอายุกว่า 100 ปี เพื่อนำมาให้แก้มแหม่มได้สวมใส่ ในวันงานรู้สึกเป็นเกียรติ ปลาบปลื้ม และภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ความเป็นมาของผ้าไทย

อาทิ ผ้านุ่งเป็นผ้าทอโบรานยกเส้นทองเรียกว่าผ้าสังเวียน  ซึ่งต้องใช่เวลานานเป็นพิเศษในการทอเพราะต้องใช้ความยาวของผ้าในการนุ่งสด  และมีการทอเป็นกรวยเชิงส่วนที่เป็นหน้านางด้านหน้า

  • ซิ่นตีนจกไหมคำราชสำนักเชียงใหม่ เป็นซิ่นตีนจกที่มีความพิเศษด้วยวัสดุการทอที่เรียกว่าไหมคำ หรือไหมทอง ซึ่งเป็นเส้นโลหะ เช่น เงิน ทอง หรือ ทองแดง มาเกลียวรอบเส้นไหม แล้วนำมาทอด้วยเทคนิคจกไปบนผืนผ้า ทำให้เกิดความเงางามระบิบ ระยับ ซิ่นตีนจกไหมคำราชสำนักเชียงใหม่ เพราะมีลวดลายละเอียดและสีสันสววยงาม แต่เดิมนิยมใช้กันในหมู่สังคมชนชั้นสูง อย่างในราชสำนักของล้านนา และยังถือเป็นนางพญาผ้าซื่นแห่งล้านนาอีกด้วย สามารถนำมาสวมกับเสื้อลูกไม้ฝรั่งเศส สวมทับด้วยไบปักดิ้นทอง สวมเครื่องประดับเครื่องทองโบราณจากสุโขทัย
  • ผ้าซิ่นไหมคำเมืองเชียงตุง ซิ่นไหมคำเมืองเชียงตุย หรือเรียกอีกอย่างว่าซิ่นบัวคำ เป็นซิ่นชนิดเดียวในผ้าซื่นทั้ง 5 ที่ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดในเมืองไทย เป็นซิ่นของราชสำนักไทเขิน นอกจากจะมีความสวยงามและความโดดเด่นแล้วยังมีมูลค่าหลายแสนบาทด้วย เพราะซิ่นชนิดนี้หาได้ยากมาก เชื่อกันว่าซิ่นชนิดนี้มีอาถรรพ์ โดยเป็นซื่นชนิดเดียวที่มีผู้เป็นเจ้าของ เนื่องด้วยเมืองเชียงตุงเป็นเมืองการค้าระหว่างล้านนา จีน พม่า จึงรับเอาวัฒนธรรมของชาติต่างๆ มาผสมผสานผ่านผืนผ้าได้อย่างลงตัว ตัวซิ่นจะทอยกมุกด้วยไหมคำ โดยนำเอาทอคำหรือเงิน หรือ กาไหล่ทองมารีดเป็นเส้นแบนยาวแล้ว เอามาตีเกลียว กับเส้นใย ส่วนมากเป็นฝ่าย แล้วนำมาทอ ต่อกันส่วนล่างของซื่นคือ ผ้าไหมจีน หรือกำมะหยี่สีเขียว ด้านบนของตีนซื่นจะปักลายปัวคำด้วยเส้นไหม หรือโลหะมีค่า ส่วนล่างสุดของซื่นจะติดด้วยแถบไหมของจีน

ส่วนผ้าสไบปักดิ้นทอง ประดับด้วยปีกแมลงทับ และพลอยนพเกล้า ผ้านุ่งผืนนี้เป็นของอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย

คุณณัฏฉรา พลูเกษ ได้โล่รางวัลรอง อันดับ 1 “มนต์เสน่ห์ผ้าไทย สู่การอนุรักษ์”

คุณมนัสรา จางจำรัส ได้รางวัล รองอันดับ 1 ของภาคเหนือ

ซึ่งในปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 9 รางวัล ประกอบด้วย

 

ภาพชุดไทยพระราชนิยมในรัชกาลที่ 9 ถ้วยรางวัลจาก ดร.จรัญธาดา กรรณสูต องคมนตรี

ภาพชุด แพรพรรณไทย ปลายด้ามขวาน รับถ้วยรางวัลจากนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา

ภาพชุด สืบสานงานศิลป์ไทย รับถ้วยรางวัลจากศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.พรเพชร พิชิตชลชัย

ภาพชุด เจ้าพระยาภูษาศิลป์ รับรางวัลจากนางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ภาพชุด นุ่งห่มสมศิลป์ ถิ่นล้านนา รับถ้วยรางวัล นายชาย นครชัย

ภาพชุด เพลินไทยสัมพันธ์ รับถ้วยรางวัลของพลตำรวจเอกทวิชาติ พละศักดิ์ ประธานบอร์ด อสมท

ภาพ เพลินเที่ยว ทั่วถิ่นไทย รับถ้วยรางวัลของนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ภาพชุด มนต์เสน่ห์ผ้าไทย สู่การอนุรักษ์ รับถ้วยรางวัลของอาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย

ภาพชุด เสื้อพระราชทานสุภาพบุรุษไทย รับถ้วยรางวัลของหม่อมหลวงปุณยนุช เกษมสันต์ ดุลยจินดา ประธานชมรม



ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *